ดอยเสมอดาว

อุทยานแห่งชาติศรีน่าน
มีพื้นที่ประมาณ 583,750 ไร่ หรือ 934 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่อำเภอเวียงสา อำเภอนาน้อย และอำเภอนาหมื่น เทือกเขาสลับซับซ้อนที่วางตัวในแนวเหนือ-ใต้ ขนานกันทั้งทางทิศตะวันตก และตะวันออกแบ่งพื้นที่ออกเป็น ฝั่งตะวันตกและฝั่งตะวันออก สองฝั่งแม่น้ำเป็นป่าเบญจพรรณและป่าเต็งรังใน เขตเทือกเขาประกอบด้วยป่าดิบเขา ป่าดิบแล้ง ป่าสนเขา พบสัตว์ป่าหายากหลายชนิด เช่น นกยูงซึ่งมี อยู่หลายฝูง เสือดาว เสือดำ หมี กวาง หมาป่า และหมาในมีสัตว์ป่าหลายชนิดที่สำคัญ คือ ช้างป่า วัวแดง และกระทิง ซึ่งจะอพยพไปมาระหว่างเขตติดต่อประเทศไทย-สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

ดอยเสมอดาวและผาหัวสิงห์
เป็นพื้นที่ที่มีลานกว้างโค้งไปตามสันเขาเหมาะสำหรับการพักผ่อนชมพระอาทิตย์ขึ้นและพระอาทิตย์ตกในเวลาเดียวกัน และยังสามารถ ชมทะเลหมอกในยามเช้า ชมดาวและแสงไฟจากตัวอำเภอนาน้อยในยามค้ำคืนได้อย่างสวยงาม เป็นหน้าผามีรูปร่างหมือนสิโตนอนหมอบหันหน้าไปทางทิศตะวันออกสามารถมองเห็นทิวทัศน์ ได้ 360 องศา ทิศเหนือมอง เห็นตัว อำเภอเวียงสา ทิศใต้มองเห็นทิวเขาเป็นแนวยาว ทิศตะวันออกมองเห็นผาชู้ แม่น้ำน่าน ทิศตะวันตกมองเห็นตัวอำเภอนาน้อย เกือบทั้งหมด และเป็นจุดชมพระอาทิตย์ตกที่สวยงามอีกจุดหนึ่ง มีเส้นทาง เดินสำรวจธรรมชาติให้ผู้รักการปีนป่ายและการผจญภัยได้

ผาชู้
มีลักษณะเป็นผาหินขนาดใหญ่ตั้งตระหง่านกลางขุนเขาเขียวขจีหลายแสนไร่ บริเวณเชิงผาชู้เป็นที่ตั้งที่ทำการ อุทยานฯ ในฤดูหนาว สามารถมองเห็นทะเลหมอกได้จากยอดผาชู้ และเมื่อหมอกจางลง จะมองเห็นลำน้ำน่าน ทอดตัวคดเคี้ยวอยู่ที่ปลายผืนป่าผาชู้เป็นสถานที่ ตั้งเสาธงที่ยาวที่สุดในประเทศไทย ต้องร้องเพลงชาติ 12 จบกว่าจะเชิญธงชาติขึ้นสู่ ยอดเขา ซึ่งสายเสาธงมีความยาวกว่า 200 เมตร จากพื้นถึงยอดผาชู้เป็นจุดชมพระอาทิตย์ขึ้นระยะทางประมาณ 2 ก.ม.ช่วงใกล้ขึ้นถึงยอดจะเป็นหินแหลมคมจึงต้อง เตรียมรองเท้าให้ กระชับไปด้วยเพื่อความสะดวกในการปีนป่าใช้เวลาในการเดินไป-กลับ ประมาณ 1 ชั่วโมง ผู้ที่ประสงค์ จะเดินขึ้นยอดผาชู้ต้องติดต่อ เจ้าหน้าที่นำทางที่อุทยานฯ

ตำนานผาชู้
กล่าวว่า เจ้าเอื้องผึ้งซึ่งเป็นคู่รักกับเจ้าจันทน์ผา จำใจต้องแต่งงานกับเจ้าจ๋วง เจ้าเอื้องผึ้งเสียใจที่ไม่ได้แต่งงานกับ คนที่ตัวเองรักจึงตัดสินใจ ฆ่าตัวตายด้วยการกระโดดจากหน้าผา เจ้าจันทน์ผาตามมาพบว่า เจ้าเอื้องผึ้งได้กระโดด หน้าผาไป้แล้วจึงกระโดดหน้าผาฆ่าตัวตายตาม คนรักตกไปอยู่ใกล้กัน และเจ้าจ๋วงได้เห็นหญิงที่ตนรักกระโดด หน้าผาไป จึงรู้สึก เสียใจและตัดสินใจ กระโดดหน้าผาตามลงไปด้วย แต่กระเด็นห่างออกไปด้วยความรักแท้ ระหว่างเจ้าเอื้องผึ้งและเจ้าจันทน์ผา ในชาติต่อมาเจ้าเอื้องผึ้ง จึงเกิดเป็นดอกกล้วยไม้เกาะอยู่ ใต้ต้นจันทน์ผา และเจ้าจ๋วงก็เกิดเป็นต้นสนณ จุดที่ตกไปนั้นเอง ( “จ๋วง” เป็นภาษาเหนือแปลว่า ต้นสน “เอื้องผึ้ง” แปลว่ากล้วยไม้) หน้าผาแห่งนี้จึงได้ชื่อว่า “ผาชู้” นับแต่บัดนั้นเป็นต้นมา